รีวิวฟิลเตอร์ NiSi ND64+CPL และ เทคนิคการถ่ายน้ำตก

รีวิวฟิลเตอร์ NiSi ND64+CPL และ เทคนิคการถ่ายน้ำตก

ก่อนเข้ากระทู้ หากเพื่อนท่านไหนสนใจไปถ่ายภาพน้ำตก(พร้อมทดลองใช้ฟิลเตอร์ตัวนี้) ลงชื่อบอกไว้นะครับ
แผนทริปเสร็จ ลงวันแน่นอนแล้วผมจะหลังไมค์ไปชวนตามลำดับคนลงชื่อครับ

มาเข้าเรื่องกันเลยดีกว่า ทาง NiSi ออกฟิลเตอร์ตัวใหม่มา เป็นฟิลเตอร์ ND64(6-Stops)  มาพร้อม CPL ในตัวเดียว

NiSi ND64+CPL

มันมีไว้ถ่ายอะไร
น้ำตก และน้ำทะเลนุ่ม ๆ  สองอย่างนี้เหมาะมาก
เมฆไหล ละลายรถ ละลายคน พอทำได้ดังตัวอย่างภาพด้านล่าง

 

ข้อดีของมัน มีก่อนทดสอบสองข้อแน่ ๆ คือ

1. ราคาถูกกว่าซื้อแยกกัน

2. ปกติแล้วหากใครจะใส่ ND ลดแสง พร้อม CPL แล้วละก็ต้องเอา มาซ้อนต่อ ๆกันสองแผ่น ซึ่งมันจะทำให้ใช้ไม่สะดวก ประกอบนาน และ ใส่แล้วเอาไม่ออกเพราะมันติดกัน

3. ไม่เกิดขอบดำที่ภาพ หากไม่ได้ใช้ NiSi ND64+CPL ตัวนี้ ปกติทั่วไปจะทำให้มีขอบดำมาก(วิธีทั่วไปจะทำตามข้อ 2 )ปล.มีใครจับได้ว่ามีมากกว่าสองข้อบ้าง หุหุ

 

เดี๋ยวเราค่อย ๆ ไปดูรายละเอียดด้านล่างกันว่ารายละเอียดข้อดีข้อเสีย เป็นอย่างไรบ้างชื่อเต็ม ๆ ของ ฟิลเตอร์ตัวนี้คือ

NiSi HUC IR ND64+CPL
PRO NANO Multifunctional Filters

( HUC หมายความว่า ไฮอัลตร้าโค้ทติ้ง เป็นรุ่นที่โค้ทติ้งดีที่สุดของทาง NiSi)
( IR Nano Coating หมายความว่า ช่วยให้มีความเที่ยงตรงของสีมาก ทำให้สีไม่เพี้ยน)
อุปกรณ์ที่ผมใช้ในการถ่ายภาพคือNikon D4  และ
เลนส์ Nikkor 16-35VR F4 คือเลนส์หลัก ๆ ที่นำมาประกบกับ NiSi ตัวนี้
เพราะเป็นมุมกว้างสุดที่ยังใส่ฟิลเตอร์แบบวงกลมได้ครับพร้อมทั้งในกระทู้จะแนะนำ สปีดชัตเตอร์ที่เหมาะในการถ่ายน้ำตกไว้ด้วย

 

เทคนิคการถ่ายน้ำตก คือใช้สปีดชัตเตอร์ช้า

” แต่ช้าเท่าไหร่ถึงจะดี เอฟเท่าไหร่ถึงจะดี “

รูรับแสง

ที่ควรใช้ เป็น F8 – F11 เพื่อให้ภาพคม ที่สุดของเลนส์ หากไปใช้ที่ F22 จะทำให้ภาพคมน้อยลง

ISO

ควรจะเป็น ISO ที่มี “น๊อย” น้อยที่สุดของกล้องเพื่อให้คุณภาพสูงสุด (iso 50-200)

Speed Shutter

สำคัญคือขึ้นอยู่กับความแรงของน้ำ
ดังตัวอย่างภาพน้ำมาก  ผมสรุปว่า ควรใช้ 1-4 วินาทีไม่เกิน หากเกินกว่านั้น น้ำบางส่วนจะไม่เป็นเส้นสาย มันจะฟุ้งฟริ้งไปแต่ถ้าน้ำน้อยมาก ๆ 30 วิก็สามารถเป็นเส้นสายได้เหมือนกันครับ

ก่อนอื่นมาทำความเข้าใจ กันก่อนครับ ว่าตัว ฟิลเตอร์ตัวนี้คืออะไร

หลัก ๆ การถ่ายน้ำตกจำเป็นต้องใช้ ND เพื่อให้ได้ สปีดชัตเตอร์ช้า ๆ  และ CPL ก็เข้ามาทำหน้าที่ตัดแสงสะท้อนของใบไม้ และ ผิวน้ำ

ดังนั้นหลัก ๆ แล้ว ก็ต้องใช้ประกอบกันเสมอ แต่ข้อเสียเวลาเอา ND มาซ้อนกับ CPL คือมันจะหนามากและเกิดขอบดำ

ข้อจำกัดดังกล่าว จึงทำให้ NiSi จับ สองตัวนี้มารวมร่างกัน ออกมาเป็น ND64+CPL แบบบ๊างง บาง

ตัวอย่างภาพที่นำ ND มาซ้อนกับ CPL

ตัวอย่างภาพที่นำ NiSi ND64+CPL มาใส่

จึงเป็นที่มาบอกฟิวเตอร์ตัวนี้ครับ

NiSi HUC IR ND64+CPL
PRO NANO Multifunctional Filters

คุณสมบัติของมันคือ
-เคลือบด้วย IR + Nano Coating ช่วยเรื่องความเที่ยงตรงของสี ให้สีไม่เพื้ยน-
-เป็นกระจก(SCHOTT) คุณภาพเหมือนชิ้นเลนส์ และให้ความละเอียดสูง-
-ป้องกันคราบน้ำ และน้ำมันได้ดี และเช็ดล้างง่าย-
-บาง 4.9มม.-

ขนาดที่รองรับ
62มม, 67มม, 72มม, 77มม ,82มม

แล้วถ้าไม่ใส่ฟิลเตอร์ตัวนี้ละจะเป็นอย่างไร

ผลที่ได้ มี 2 อย่าง คือ สปีดชัตเตอร์ไม่ลดลงเพียงพอ(บางครั้งน้ำจะเป็นเส้นได้ถ้าแรงมากดังภาพ แต่ต้องแลกกับการใช้ F22 ซึ่งภาพจะไม่ค่อยคมเท่า F11
และ อีกข้อคือไม่ตัดแสงรบกวน

ดังภาพจะสังเกตเห็นได้ว่า แสงสะท้อน เลอะเทอะตรงใบไม้ และ บนผิวน้ำ
ที่โดน CPL ตัดออกไปทั้งหมด ให้ภาพที่สวยงามกว่ามาก ๆ เลยทีเดียว

สำหรับความต่างของสีภาพ การมี CPL ในภาพความอิ่มของสีที่แสงสะท้อนจะเปลี่ยนไปด้วย
ผมเลยครอปใบไม้ในส่วนมืดที่ไม่โดนแสงมาให้ดู
สีเวลาใส่จะออกไปทางโทนอุ่นมากกว่า และสีเพื้ยนน้อยดังภาพ

กลายเป็นคุณสมบัติ ประจำค่าย NiSi ไปแล้ว กับการป้องกัน น้ำ ,น้ำมัน เกาะหน้าเลนส์ ความลื่นเกรดเดียวกับ B+W แต่ราคาถูกกว่าเยอะ

สรุป

จากการใช้งาน หากมองในช่องวิวไฟน์เดอร์ภาพจะมืดกว่าปกติ แต่ไม่เป็นปัญหาในการจัดองค์ประกอบ และในโหมด Liveview สามารถเห็นความสว่างเป็นปกติ
แต่ส่วนที่จะมองยากกว่าหน่อยคือเอฟเฟคของ โพลาไรซ์จะมองยากกว่านิดหน่อยเพราะด้วยภาพที่มืดลงนั่นเอง (เป็นปกติ เวลาใส่ ND พร้อม CPL)
และความรู้สึกในการหมุน CPL นั่นค่อนข้างแน่นกระชับกว่า CPL ทั่วไป น่าจะป้องกันไว้เวลาเคลื่อนย้ายใกล้ ๆ หรือมือเผลอไปโดน จะไม่ต้องมานั่งหามุมโพลาไรซ์ใหม่ แต่โดยส่วนตัวชอบให้ลื่นกว่านี้นี๊ดดนึงครับ

แนะนำให้เลือกซื้อ หน้าใหญ่ ๆ สุดที่เลนส์เรามี แล้วใช้ Stepring ลดมันลงมา

เหมาะกับใคร

สำหรับคนที่อยากได้ ND และ CPL แบบใส่แล้วไม่ติดขอบ ราคาถูกกว่าซื้อแยก และไว้ถ่ายสปีดต่ำ ๆ เฆม หรือน้ำ พริ้วๆ

ข้อดีคือ

– ราคาถูกกว่าซื้อแยกกัน
– ใส่เข้าออกง่าย ไม่มีปัญหา ฟิลเตอร์ ND ติดกับ CPL แล้วถอดไม่ได้แล้ว
– คนใช้ฟิลเตอร์ วงกลม สามารถ ใส่ ND พร้อม CPL  โดยไม่เกิดขอบดำที่ภาพ
– หยดน้ำไม่เกาะ เช็ดออกง่ายมาก
– บางเหมือน CPL ทั่วไป แต่ได้ ND64 แถมมา พกง่ายไม่ต้องไปพก แบบแผ่นเพราะไม่มีขอบดำเหมือนกัน
– สีเพี้ยนน้อย
– กล่องเก็บมีตัวล็อค ป้องกันตกหล่นได้(ฟิลเตอร์ไม่ได้ใส่หน้าเลนส์ตลอดจำเป็นต้องมีกล่อง)

ข้อเสีย

– ไม่สามารถถอด ND64 ออกแล้วใช้ CPL อย่างเดียวได้
– ส่วนตัวแล้วอยากได้วงแหวน CPL ลื่นกว่านี้อีกนิด

สนใจ NiSi ND64+CPL ของแท้ประกันศูนย์ Click ที่นี่เลย 

Main Menu