ค่า TM-30 มีผลอย่างไรต่องานวิดีโอ และงานถ่ายภาพ 

ค่า TM-30 มีผลอย่างไรต่องานวิดีโอ และงานถ่ายภาพ

TM-30 ผมว่าคำนี้อาจจะใหม่มาก สำหรับหลายๆคนที่ยังไม่ได้ให้ความสำคัญกับคุณภาพของสี ที่แหล่งกำเนิดแสงเทียมสามารถ re-produce ได้ หลายท่านคงเคยได้ยินแค่ CRI เป็นหลัก รองลงมาก็ TLCI แต่ TM-30 เป็นอีกหนึ่งของการวัดค่าความเที่ยงตรงของสีที่เริ่มเป็นที่นิยมให้การเอามาพิจารณาประกอบกับการเลือกหาซื้อไฟ มาใช้ทำงานกันมากขึ้น

TM-30 ย่อมากจาก Technical Memorandum 30 เป็นวิธีการวัดผลความเที่ยงตรงของ แหล่งกำเนิดแสงเทียมด้วยวิธีทางสถิติโดยการหาค่าเฉลี่ยของ ความเที่ยงตรงของสี (Color Fidelity) และ ขอบเขตสี (Color Gamut) และ เฉดสี (Hue Shift) ออกมาเป็นตัวเลขและเส้นกราฟ โดยการวัด TM-30 พัฒนาโดย the Illuminating Engineering Society (IES) ในปี 2015 ซึ่ง TM-30 ทำการหาค่าดัชนีชี้วัดความเที่ยงตรงของสีจากสีค่าเฉลี่ยสีทั้งหมด 99 สี แต่ให้ค่าคะแนนความเที่ยงตรงอยู่ที่ 0-100 เช่นเดียวกับ CRI


ภาพประกอบ : premierltg.com

องค์ประกอบหลักของ TM-30 กัน

1. ความเที่ยงตรงสี Rf (Color Fedelity)

เป็นการวัดความเที่ยงตรงสีของแหล่งกำเนิดแสงเทียม ว่าสามารถ re-produce  สีได้เที่ยงตรงแค่ไหน เช่นเดียวกับค่า CRI มาก เพียงแต่ต่างกันที่ Color Fedelity จะทำการหาค่าเฉลี่ยนของสีที่ 99 สี ซึ่งเป็นสีของวัตถุต่างๆ


ภาพประกอบ : archlighting.com

โดยเราจะแบ่งเป็นกลุ่มสีทั้งหมด 99 สีได้เป็น 7 กลุ่มสี

1. Nature
2. Skin color
3. Textiles
4. Paints
5. Plastics
6. Printed material
7. Color systems

การแบ่งกลุ่มออกมาแบบนี้ค่อนข้างมีประโยชน์กับผู้ที่ทำงาน เพราะเราสามารถเลือกใช้ค่าความเที่ยงตรงสีในแต่ละกลุ่มของวัตถุต่างๆ เช่น คนที่ทำงาน Architech อาจจะต้องมาดูว่าไฟที่เลือกมาใช้มีผลอย่างไรต่อ Color Paints

ดังนั้นค่า TM-30 Rf มีดัชนีชีวัดความเที่ยงตรงของสีเช่นเดียวกับ CRI Ra คือ 0-100 เช่นเดียวกัน ดังนั้นตัวเลขยิ่งมาก ค่าความเที่ยงตรงยิ่งสูง เช่นเดียวกับ CRI

 

2. ค่าขอบเขตของสี Rg (Color Gamut) หรือบางคนอาจจะเรียกว่า Color Space

เป็นค่าดัชนีที่ใช้บอกคุณภาพของสี ว่ามีความเข้ม Chroma ของสีจากแหล่งกำเนิดมากน้อยแค่ไหน โดยจะพิจารณาถึง Color Purify (ความใสของสี) ความเข้มสี (Color Intensity) และ ความอิ่มสี (Color Saturation)

ภาพประกอบ : en.wikipedia.org/wiki/CIE_1931_color_space

ปกติ Visible Light จะประกอบด้วยสีที่มีคลื่นความยาวสีที่แตกต่างกันประกอบเข้าไว้ด้วยกัน หรือที่เราเรียกกันว่า สเปกตรัม ดังนั้นค่า Rg จะเป็นตัวบอกว่าแหล่งกำเนิดแสงเทียมนั้นสามารถ re-produce สีที่มีค่าขอบเขตของสี Rg กว้าง (Wide Gamut) หรือ แคบ (Narrow Gamut) ยิ่งมีค่าขอบเขตของสีที่กว้างหมายความว่าเราสามารถแสงผลของสีได้กว้างและครอบคลุมสีของวัตถุนั้นๆได้อย่างครบถ้วน ซึ่งเราต้องพิจารณาตัวบันทึกภาพเช่นกล้องดิจิตอลเป็นส่วนประกอบเพิ่มเติมอีกว่า กล้องสามารถบันทึกสีได้แบบ Wide Gamut หรือเปล่าอีกเช่นกัน เพื่อพจารณาทั้ง input และ output ของขอบเขตสีที่สามารถสร้างและบันทึกได้

ดังนั้นค่า TM-30 Rg จะมีช่วงอยู่ประมาณ 40-160 ดังนั้นถ้าค่า Rg สูงกว่า 100 หมายถึงสีที่ได้มีความอิ่มของสีมาก (High Saturation)

ตัวอย่างภาพ


ภาพประกอบ : indigoimagelab.com/colorgamuts

ภาพตัวอย่าง Wide Gamut


ภาพประกอบ : indigoimagelab.com/colorgamuts

ภาพตัวอย่าง Narrow Gamut


ภาพประกอบ : indigoimagelab.com/colorgamuts

 

3. กราฟแสดงผลสี (Color Vector Graphic)

เป็นกราฟที่ใช้แสดงผลว่าสีที่ถูก re-produce จากแหล่งกำเนิดแสงเทียมมีความอิ่มของสีมากและน้อยแค่ไหน เนื่องจากค่า Rf และ Rg และแสดงผลเป็นเพียงตัวเลขที่เป็นค่าเฉลี่ยรวมเท่านั้น เราจะไม่สามารถทราบได้เลยว่า สีไหนมีความเข้มมากรือน้อยเท่าไหร่  กราฟเวตเตอร์แสดงผลสีจะเป็นเครื่องมือที่ช่วยให้เราเข้าใจมากขึ้น และเพิ่มความแม่นยำในการดูว่าสีที่ถูก re-produce จากแหล่งกำเนิดแสงเทียมมีความเที่ยงตรงแค่ไหน และต้องปรับตรงไหน

เรามาลองดูว่ากราฟด้านล่างเราจะวิเคราะห์ และอ่านค่าอย่างไร 

  • เส้นสีดำ วงกลมจะแทนแหล่งกำเนิดแสงขาวธรรมชาติ
  • เส้นสีดำ ประกอบด้วยสี 16 เฉด แทนแสงขาวธรรมชาติ
  • เส้นสีแดง วงกลมจะแสดงผลของแหล่งกำเนิดแสงเทียมที่เราต้องการทดสอบ
  • เมื่อเส้นสีแดง อยู่ภายในวงกลมสีดำ หมายความว่าสีนั้นจะ Desaturated หรือขาดความอิ่มของสี เมื่อเทียบกับแสงขาวธรรมชาติ
  • เมื่อเส้นสีแดง อยู่ภายนอกวงกลมสีดำ หมายความว่าสีนั้นจะ Saturated หรือมีความอิ่มของสีมากกว่า เมื่อเทียบกับแสงขาวธรรมชาติ
  • เมื่อเส้นสีแดง และเส้นสีดำ ทับกันพอดี หมายความว่าแสงของแหล่งกำเนิดแสงเทียมและแสงธรรมชาติเท่ากัน

 


ภาพประกอบจาก : flexfireleds.com

จากกราฟเราสามารถบอกได้
– เส้นกราฟที่ออกนอกวงจะเป็นช่วงสีที่มีความอิ่มสี (Saturated) มาก
– ช่วงที่เส้นกราฟอยู่ในวงจะเป็นช่วงสีที่มีดูซีด เนื่องจากไม่มีความอิ่มของสี (Desaturated)
– การที่วงกลมสีแดงมีการเอนไปทางด้านไหนมากว่า หมายความว่าสีโดยรวมจะมีการ Shift ไปทางนั้น
– ถ้าเท่ากันพอดี คือช่วงสีดังกล่าวไม่มีความแตกต่างจากแสงธรรมชาติ

ตัวอย่างภาพประกอบ การวัด TM-30

Original, Red Enhanced Desaturated
ภาพประกอบ : premierltg.com

tm30-desaturated-red-enhanced
ภาพประกอบ : premierltg.com

ดังนั้นการที่เราทำงานวิดีโอหริอผลิตงาน นอกจากจะต้องดู CRI หรือ TLCI เพื่อประกอบในการเลือกใช้ไฟให้เหมาะกับงาน เราอาจจะต้องดูค่าหน่วยวัดอื่นๆ เช่น TM-30 เพื่อประกอบการตัดสินใจ หรือใช้วิเคราะห์การทำงานให้มีประสิทธิภาพอยู่เสมอ และพัฒนางานออกมาให้ได้มาตรฐานอย่างต่อเนื่องครับ

สนใจไฟ LED คุณภาพสูง ติดต่อ Camera Maker ตัวแทนนำเข้าและจัดจำหน่ายอุปกรณ์ถ่ายภาพชั้นนำ 

ติดต่อ Line ID : @cameramaker 

 

Leave a Reply

This site uses Akismet to reduce spam. Learn how your comment data is processed.

Discover more from Camera Maker

Subscribe now to keep reading and get access to the full archive.

Continue reading

Main Menu