เคล็ดลับถ่ายพลุจบหลังกล้อง! ถ่ายพลุให้เทพ ใช้ฟิลเตอร์อะไรดี มาหาคำตอบกัน

เคล็ดลับถ่ายพลุจบหลังกล้อง! ถ่ายพลุให้เทพ ใช้ฟิลเตอร์อะไรดี โดยพี่ตี๋ TeeShutter B

เคล็ดลับถ่ายพลุจบหลังกล้อง! ถ่ายพลุให้เทพ ใช้ฟิลเตอร์อะไรดี : พี่ตี๋เคยได้ยินอยู่บ่อยๆ ว่า ใช้ฟิลเตอร์ ND ใช้ CPL ถ่ายพลุออกมาไฉไลเป็นบ้า แล้วมันไฉไลยังไงคนบอกก็ตอบไม่ได้ 55+ เป็นคำถามในใจอยู่นาน ไม่เคยได้ทดสอบจริงจัง เพราะกว่าจะหาพลุถ่ายไม่ใช่ง่าย ๆ ถ้าต้องมาลองก็ไม่ได้ถ่ายไม่ได้ภาพกันพอดี วันนี้เรามาดูเคล็ดลับถ่ายพลุจบหลังกล้อง! ถ่ายพลุให้เทพ ว่าใช้ฟิลเตอร์อะไร

วันนี้พี่ตี๋จัดให้ลองให้ครบ เอาเทคนิคพิเศษ มาฝากกันไป ทั้งการใช้ฟิลเตอร์ครึ่งซีก หรือที่เราเรียกกันว่า GND ฟิลเตอร์, ฟิลเตอร์ Polarized และฟิลเตอร์ ND แบบเต็มแผ่น

ในบทความนี้ พี่ตี๋รีบทำออกมาก่อนให้เพื่อนๆ ลองดูเทคนิคนี้กันครับ พี่ตี๋ว่าเป็นเทคนิคที่แปลก และให้ภาพพลุที่สวยแปลกตากว่าเทคนิคอื่นๆ จะได้นำไปถ่ายพลุปีใหม่กัน โดยเทคนิคนี้เป็นการใช้ฟิลเตอร์ ND แบบครึ่งซึก ที่เรียกว่า GND Filter โดยพี่ตี๋เลือกใช้แผ่น NiSi Soft GND เพราะว่าเป้นแผ่นฟิลเตอร์ที่สีไม่เพื้ยนที่สุดหละ หลังจากที่พี่ตี๋ลองมาเยอะหลายค่าย เพราะว่าค่าย NiSi เค้าเคลือบ IR Coating หรือที่เราเรียกว่า Infrared Coating เพื่อช่วยให้สีไม่เพี้ยนเวลาเราลาก speed shutter ยาวๆ จะได้ผลออกมาเป็นไง ค่อย ๆ ติดตามชมกันได้ครับ

ปกติแล้ว การถ่ายพลุโดยทั่วๆไป ไม่ค่อยมีคนใช้ฟิลเตอร์แผ่นแบบครึ่งซึกมาใช้ ไม่ใช้เพราะมันใช้ไม่ได้นะครับ แต่เป็นเพราะว่าส่วนใหญ่แล้วไมา่ค่อยมีใครใช้เทคนิคนี้ พี่ตี๋ลองแล้วหลังจากที่ทำ NiSi Soft GND ฟิลเตอร์มาใช้ถ่ายพลุ ปรากฏว่าภาพที่ได้เล่นเอาพี่ตี๋ตกใจมาก ผลที่ได้เกินคาดจริงๆ

เพราะว่า ปัญหาของการถ่ายพลุปัญหาใหญ่คือ พลุแต่ละลูกนั้นแสง ไม่เท่ากัน ทำให้กะได้ยาก และที่ยากมาก ๆ คือพลุบริเวณด้านล่างเพราะพลุส่วนนี้สว่างกว่าพลุที่ แตกบนฟ้ามาก ๆ พี่ตี๋ถ่ายพลุมาหลายปีบ่อยครั้งที่พลุส่วนล่างตรงนี้สว่างโอเวอร์

พอเลือกถ่ายพลุ โดยใช้ F แคบ แต่ผลที่ได้ ตัวพลุรายละเอียดน้อยลง แก้อย่างไรดี

วิธีถ่ายพลุ ที่เค้านิยมใช้กันคือถ่ายมาหลาย ๆ รูปแล้วมารวมกัน รูปนึงอาจจะมาจาก 3-4 รูปได้ ดังตัวอย่างถ่ายพลุมาหลาย ๆ รูปแล้วนำมารวมกัน ส่วนตัวแล้วพี่ตี๋ไม่ค่อยชอบการนำพลุหลายๆ ดอกมารวมกันมันเหนื่อย

ตัวอย่างภาพพลุเล็กๆหลายภาพมาซ้อนกัน

ภาพที่ได้หลังจากการรวมภาพ

พี่ตี๋มองว่า ถ้าถ่ายพลุได้จบในดอกเดียวจะดีกว่า ซึ่งพลุส่วนล่างนี้มักจะ โอเวอร์เสมอ บางคนใช้รูรับแสงแคบ ๆ แทน f11 , f16 ไปเลย แต่เอาเข้าจริง ๆ ถ้าพลุด้านล่างสว่างมาก ก็ยังโอเวอร์ได้อยู่

แต่ว่าในบางครั้ง พอเราเลือก F แคบๆ สิ่งที่เกิดขึ้นคือ พลุที่เป็นรายละเอียดเล็กๆ จะหายไป มองไม่เห็นในภาพ เนื่องจากเราไปปรับรูรับแสงให้แคบไว้ก่อน อย่างที่หลายๆท่าน ชอบบอกกันว่า “ยิ่งใช้รูรับแสงแคบ ตัวพลุจะเรียวเล็ก” แต่ว่าจากหลักการดังกล่าว ผลที่ได้คือ ภาพพลุบางลูกไม่สว่าง หรือ หางของพลุ ก็จะสว่างน้อยไปตามไปด้วย ดังนั้นเพื่อหลีกเลี่ยงปัญหาดังกล่าว วันนี้เทคนิคที่พี่ตี๋จะนำมาฝากกันคือ การใช้ NiSi Soft GND ฟิลเตอร์กับการถ่ายพลุครับ

.

NiSi IR Soft GND ไอเท็มลับสำหรับการถ่ายพลุ ที่ไม่มีใครรู้

ผมได้มีโอกาสทดสอบเลยลองใช้ ฟิลเตอร์ NiSi Soft IR GND16 (4stops) ขนาด 100mm System มาใช้กับ NiSi Holder V5 Pro เข้ามาช่วยการถ่ายพลุ เรียกได้กว่า ได้ผลลัพธ์เกินคาดจริงๆ ผมเลยลองทำเปรียบเทียบแบบใช้ NiSi Soft GND และแบบไม่ใช้ฟิลตอร์ เพื่อดูว่าเมื่อเราใช้ Soft GND ฟิลเตอร์กับการถ่ายพลุ ภาพที่ได้จะเป็นยังงัยบ้าง

ซึ่งในการทดสอบนี้ พี่ตี๋ใช้กล้องตัวเดียวกัน ใส่และถอดฟิลเตอร์ออก ฟิลเตอร์ที่ใช้เป็น NiSi Soft filter GND16 (4stops) ขนาด 100mm บน NiSi Holder V5 Pro ซึ่งสามารถถอดแผ่นฟิลเตอร์ และใส่แผ่นฟิลเตอร์ได้เร็วมาก ๆ ขนาดถ่าย Before และ After ไปด้วย กับพลุที่ยิงออกมาหลายดอกติดๆ กัน

สำหรับการตั้งค่ากล้องผมเลือกใช้เหมือนกัน โดยใช้โหมดชัตเตอร์เป็น ชัตเตอร์บี ซึ่งในการทดสอบนี้ ขณะใช้ฟิลเตอร์แผ่น NiSi Soft GND ลากสปีดชัตเตอร์นานกว่า แบบไม่ใช้ฟิลเตอร์ ทำให้หมดข้อสงสัยที่ว่า เป็นที่สปีดชัตเตอร์ไม่เท่ากันหรือเปล่า

วิธีการใช้ NiSi Soft GND กับการถ่ายพลุ

ใครที่สนใจนำไปทดลองใช้กันได้เลย. ให้นำ NiSi Soft IR กลับหัวเอาด้านเข้มไว้ด้านล่าง แล้วกะตำแหน่งให้แถบลดแสง พาดส่วนล่างของพลุ ดังรูป

หรือใครอยากได้เข้มมาก หรือ เข้มน้อยก็เลื่อนได้ก่อนที่พลุจะจุด (เราจะเช็คตำแหน่งฟิลเตอร์ได้จากหลังจอ LCD ก่อนจุดพลุ) เท่านี้ก็ได้พลุที่สวยงามดังภาพตัวอย่างแบบด้านล่างซึ่งเป็น

  • ภาพที่ 1 : ใช้ฟิลเตอร์ NiSi Soft GND ถ่ายด้วยเวลา 7.8 วินาที (ใส่ให้ส่วนที่ลดแสงอยู่บริเวณส่วนล่างของพลุ)

  • ภาพที่ 2 : ไม่ใช้ฟิลเตอร์ และถ่ายด้วยเวลา 2.6 วินาที

จากตัวอย่างสามารถเห็นได้อย่างชัดเจนว่า ภาพพลุขณะไม่ใส่ฟิลเตอร์ NiSi Soft Filters สว่างโอเวอร์กว่าแบบทีใส่ NiSi Soft Filters อย่างเห็นได้ชัด ถึงแม้ว่าไม่ใช้ฟิวเตอร์จะถ่ายที่เวลาน้อยกว่ามากก็ตาม

ดังนั้นภาพที่ใช้ NiSi Soft GND เข้ามาช่วยในการถ่ายภาพพลุ จะช่วยให้ได้ภาพที่สวยขึ้นมากๆ พลุเห็นได้ชัด หางได้ยาวกว่า จบหลังกล้องได้เลย 

.

ภาพตัวอย่างการถ่ายพลุ แบบจบหลังกล้องทั้งหมด และถ่ายด้วย NiSi Soft IR GND16 (4stops) แบบ 100x150mm บน NiSi Holder V5 Pro

สำหรับเพื่อนๆ ถ้ามองว่าไอเท็มลับนี้ สามารถตอบโจทย์การถ่ายภาพพลุได้ ลองเข้าไปหารายละเอียดกันได้เลยครับ ซึ่งทาง NiSi จะมีแผ่น Soft GND ที่มีความเข้มให้เลือกมากได้หลากหลายความเข้ม ตั้งแต่ NiSi Soft GND4 (2 stops) ไปจนถึง NiSi Soft GND16 (4 stops) ซึ่งขนาดของแผ่นก็จะมีให้เลือกหลายหลายตามขนาดเลนส์และ holder ซึ่งสามารถสอบถามรายละเอียดได้ตาม Link ข้างล่างเลยครับ 

Line ID : @cameramaker

Leave a Reply

This site uses Akismet to reduce spam. Learn how your comment data is processed.

Discover more from Camera Maker

Subscribe now to keep reading and get access to the full archive.

Continue reading

Main Menu