ฟิลเตอร์สำหรับกล้อง DSLR ที่ใช้ในการถ่ายภาพขั้นพื้นฐาน

ฟิลเตอร์สำหรับกล้อง DSLR ที่ใช้ในการถ่ายภาพขั้นพื้นฐาน

ฟิลเตอร์สำหรับกล้อง DSLR ที่ใช้ในการถ่ายภาพขั้นพื้นฐาน ความสนุกและสะดวกสบายอย่างหนึ่งของการถ่ายภาพด้วยกล้อง DSLR ก็คือสิ่งที่ช่วยในการอำนวยความสะดวก อย่างเช่น อุปกรณ์เสริมต่างๆ ที่ทำให้เราสามารถถ่ายรูปได้หลากหลายแบบมากขึ้น และยังทำให้เวลานำเข้าไปปรับแต่งด้วยโปรแกรมทำรูปในคอมพิวเตอร์นั้นง่ายขึ้นอีกด้วย และหนึ่งในอุปกรณ์ที่ช่างถ่ายภาพควรหามาลองใช้หรือควรจะมีติดตัวไว้บ้างก็คือ “ฟิลเตอร์” นั่นเอง

ฟิลเตอร์สำหรับกล้อง DSLR ที่ใช้ในการถ่ายภาพขั้นพื้นฐาน

“ฟิลเตอร์” เป็นแผ่นกระจกที่มีไว้สำหรับติดหน้ากล้อง และมีการเริ่มใช้มาตั้งแต่ในยุคสมัยกล้องฟิล์ม ซึ่งมีหน้าที่ตัดแสงหรือป้องกันการกระแทกหน้าเลนส์ ทว่าต่อมาก็มีการพัฒนาฟิลเตอร์ให้มีคุณสมบัติในการช่วยสร้างเอฟเฟ็คต่างๆ ให้แก่ภาพถ่ายอย่างหลากหลายมากขึ้นอีกด้วย ซึ่งฟิลเตอร์นั้นก็มีหลายขนาด ตั้งแต่ 50 มม., 52 มม., 67 มม., 58 มม., 77 มม., 95 มม. ฯลฯ ซึ่งสามารถเลือกใช้ได้ตามขนาดเลนส์ของเรานั่นเอง

และวันนี้ Camera Maker ก็มีตัวอย่างและคุณสมบัติของฟิลเตอร์ยอดนิยมสำหรับการถ่ายภาพมาแนะนำสำหรับช่างภาพที่ยังไม่มีความรู้เกี่ยวกับฟิลเตอร์มาบอกกัน ไปดูกันเลย…

Plain ฟิลเตอร์

ฟิลเตอร์แบบนี้มักจะเป็นของแถมมาตอนที่ซื้อกล้อง เพราะเป็นแค่กระจกธรรมดาๆ ไว้กันรอยกันฝุ่นเท่านั้น

ฟิลเตอร์สำหรับกล้อง DSLR ที่ใช้ในการถ่ายภาพขั้นพื้นฐาน

Ultra Violet (UV) ฟิลเตอร์

ปกติแล้ว ฟิลเตอร์ UV จะถูกใช้ในกล้องฟิล์ม เพราะไม่มีระบบตัดแสง UV แต่ในเมื่อเราพูดถึงกล้อง DSLR ที่มีระบบตัดแสง UV ในตัวอยู่แล้ว ฟิลเตอร์ UV จึงเป็นเพียงแค่ฟิลเตอร์สำหรับป้องกันหน้าเลนส์เท่านั้น

ฟิลเตอร์สำหรับกล้อง DSLR ที่ใช้ในการถ่ายภาพขั้นพื้นฐาน

Circular Polarizing (CP) ฟิลเตอร์

ฟิลเตอร์นี้เป็นฟิลเตอร์ที่จะช่วยตัดแสงโพลาไรซ์ (Polarizers) ออก ซึ่งเป็นการลดแสงสะท้อนออกจากพื้นผิวที่ไม่ใช้โลหะ เช่น การถ่ายภาพน้ำที่ปกติแล้วจะมีเงาสะท้อน แต่หากเราติดฟิลเตอร์ CPL ก็จะช่วยลดทอนเงาสะท้อนเหล่านั้นออกไปได้ ทั้งยังทำให้สามารถถ่ายภาพท้องฟ้าได้มีสีสวยขึ้นอีกด้วย เพราะบนท้องฟ้านั้นมีแสงกระจายตัวอยู่มาก การใช้ฟิลเตอร์ CPL จะไปลดแสงเหล่านั้นนั่นเอง ฟิลเตอร์ชนิดนี้จึงมักเป็นไอเทมคู่กายของช่างภาพแทบทุกสาย โดยเฉพาะสายแลนด์สเคป (Landscape)

Neutral Density (ND) ฟิลเตอร์

ฟิลเตอร์ ND มีชื่อเต็มๆ ว่า Neutral Density เป็นฟิลเตอร์ยอดนิยมสำหรับการถ่ายภาพสายน้ำที่กำลังเคลื่อนไหว เช่น น้ำตก หรือคลื่นทะเล หน้าที่หลักๆ ของเจ้าฟิลเตอร์ ND ก็คือ การตัดแสง ไม่ว่าแสงจริงจะเป็นยังไง เมื่อเราติดฟิลเตอร์ตัวนี้ลงไป มันก็จะลดทอนแสงที่เข้าสู่เซนเซอร์ให้น้อยลง ดังนั้น ตัวแผ่นฟิลเตอร์จึงมีสีเข้ม โดยยิ่งเข้มมาก ก็ยิ่งตัดแสงได้มากนั่นเอง ซึ่งก็มีให้เลือกหลายระดับ ตั้งแต่การลดแสง 1stop ไปจนถึงลด 10+stop อย่างไรก็ตาม ฟิลเตอร์ ND ที่ดีจะต้องทำหน้าที่ลดแสงเท่านั้น แต่ไม่ลดสี หรือทำให้สีผิดเพี้ยนไป (ซึ่งก็หาได้ยาก เพราะส่วนมากแล้ว ฟิลเตอร์ ND จะทำให้สีเพี้ยนไปบ้าง ไม่มากก็น้อยนั่นเอง)

อ่านมาถึงตรงนี้ บางคนอาจจะงงว่า.. แล้วเราจะเอาฟิลเตอร์ตัดแสงมาถ่ายน้ำตกทำไม?? คำตอบก็คือ เอามาลดสปีดชัตเตอร์นั่นเอง ปัญหาของการถ่ายภาพเคลื่อนไหวก็คือ การที่เราใช้สปีตชัตเตอร์ที่เร็วเกินไป ภาพที่ได้ออกมาจะดูแข็ง เช่น เห็นน้ำเป็นหยดๆ แต่พอเราใส่ฟิลเตอร์ ND ลงไป เพื่อลวงสปีดชัตเตอร์ให้ช้าลง ภาพที่ได้ก็จะมีความฟุ้ง นุ่มนวลขึ้น นั่นเอง

Graduated Neutral Density (GND) ฟิลเตอร์

ฟิลเตอร์ GND หรือที่เราอาจจะคุ้นๆหูหันมาบ้าง ในชื่อฟิลเตอร์ ND ครึ่งซีก มีหน้าที่คล้ายๆ กับญาติของมัน (ND) นั่นก็คือ “ตัดแสง” นั่นเอง

ส่วนเหตุผลที่ว่าทำไมเราถึงเรียก GND ว่า ND ครึ่งซีก ก็เพราะลักษณะภายนอกนั่นเอง โดยฟิลเตอร์ GND มีลักษณะเป็นแผ่นสี่เหลี่ยมที่ต้องใช้ตัวยึดไว้กับหน้าเลนส์ มีสีดำคล้ายกับฟิลเตอร์ ND แต่ดำแค่ครึ่งแผ่นเท่านั้น พอจะเดาออกแล้วใช่มั้ยคะว่าทำไมถึงเรียกว่า ND ครึ่งซีก ก็เพราะว่ามันดำแค่ครึ่งเดียวนั่นเอง 

แล้วทำไมถึงดำแค่ครึ่งเดียว?

อย่างที่เคยพูดถึงไปแล้วว่า ส่วนสีดำของฟิลเตอร์ ND นั้น มีไว้เพื่อลดทอนแสงที่เข้าสู่เซนเซอร์ ดังนั้น การที่ฟิลเตอร์ GND มีสีดำแค่ครึ่งซีกก็เป็นเพราะเราไม่ได้ใช่เพื่อตัดแสงของภาพทั้งภาพ แต่เป็นการลดแสงเฉพาะจุดนั่นเอง ซึ่งโดยส่วนมากแล้ว เราจะนำมาใช้ในสถานการณ์ที่ในเฟรมมีแสงที่แตกต่างกันมากๆ เช่น การถ่ายภาพที่ท้องฟ้าแดดเปรี้ยง แต่ฉากหน้ากลับมืดเพราะไม่โดนแสง เป็นต้น ดังนั้น ฟิลเตอร์ GND จึงเป็นอีกหนึ่งฟิลเตอร์ที่นักถ่ายภาพสายแลนด์สเคป (Landscape) นิยมซื้อมาใช้กันนั่นเอง

Soft Focus ฟิลเตอร์

ฟิลเตอร์ตัวนี้มีจุดประสงค์หลักในการถ่ายภาพให้ออกมาดูนุ่มนวลมากขึ้น โดยอาจจะเรียกได้ว่าเป็นการทำให้ภาพที่ถ่ายบุคคลออกมามีผิวเนียน ฟรุ้งฟริ้งขึ้น (แต่ก็ไม่ได้ถึงขั้นเนียนกริบจนดูไม่เหมือนผิวคนแบบกล้องฟรุ้งฟริ้งที่สาวๆ เน็ทไอดอลนิยมใช้กันหรอกนะ) แต่อย่างไรก็ตาม ฟิลเตอร์ชนิดนี้ไม่ค่อยได้รับความนิยมนัก เพราะเราสามารถแต่งผิวให้ดูเนียนได้ง่าย ๆ ด้วยโปรแกรมตกแต่ง เช่น Lightroom นั่นเอง

Macro ฟิลเตอร์

ฟิลเตอร์นี้จะเป็นการเล่นกับระยะโฟกัส ทำให้สามารถทำให้เลนส์ของเราถ่ายภาพได้ระยะโฟกัสใกล้ขึ้น จึงนิยมนำมาใช้แก้ขัด แทนเลนส์มาโครไปพลาง ๆ นั่นเอง

Color ฟิลเตอร์

ฟิลเตอร์สีนั้นมีให้เลือกมากมาย โดยหลักการใช้ก็เหมือนกับการแต่งสีภาพ เช่น ถ้าอยากให้ภาพท้องฟ้ามีสีฟ้าเข้มก็ใส่ฟิลเตอร์สีฟ้าลงไป เป็นต้น

ฟิลเตอร์เป็นอุปกรณ์เสริมที่จะช่วยให้เราถ่ายภาพได้สนุกและง่ายขึ้น อีกทั้งยังมีหลากหลายราคาให้เลือกหลากหลาย ทั้งถูกและแพง ดังนั้น การที่จะลองสัมผัสประสบการณ์ใหม่ๆ ผ่านฟิลเตอร์สักชิ้นก็เป็นทางเลือกที่ไม่เลวทีเดียว

และนี่ก็เป็นตัวอย่างฟิลเตอร์ที่เรานำมาพูดถึงพอหอมปากหอมคอ ยังมีฟิลเตอร์และอุปกรณ์เกี่ยวกับกล้องอีกหลายประเภท โดยคุณสามารถเข้ามาดูเพิ่มเติมได้ที่ เว็บไซต์ของ Camera maker ได้ที่ http://www.cameramaker.co.th/shop/

ติดต่อขอรายละเอียดเพิ่มเติม และเป็นเจ้าของที่
Line ID : @cameramaker
หรือคลิก : http://line.me/ti/p/%40wse8130g

Leave a Reply

This site uses Akismet to reduce spam. Learn how your comment data is processed.

Discover more from Camera Maker

Subscribe now to keep reading and get access to the full archive.

Continue reading

Main Menu